เมนู

ในสวรรค์ช้านานประมาณห้าสิบเจ็ดโกฏิหกหมื่นปี มาในภพนี้ พระเทวทัตกับพระบรมโพธิสัตว์
เจ้าได้เกิดปะกันอีก พระเทวทัตรุกรานรันทำประทุษร้ายพระสัพพัญญู ผู้เป็นบรมศาสดาแล้ว
กระทำสังฆเภทเป็นกรรมหนัก ต้องแผ่นดินสูบลงไปไหม้อยู่ในอวิจีมหานรกตราบเท่าที่ทุกวันนี้
ฝ่ายสมเด็จพระพิชิตมารโมลีเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมโพธิญาณสิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว ก็เสด็จ
ล่วงลับเข้าสู่พระบวรมหานคเรศศิเวศร์นฤพาน เหตุฉะนั้นบพิตรพระราชสมภาร อาตมาจึง
ถวายพระพรว่า กุศลกับอกุศลนี้มีผลไม่เสมอกัน อกุศลให้ผลไปทนทุกข์ในทุคติ ส่วนกุศลนี้ให้
ผลนำสัตว์ไปสู่สุคติภพทั้ง 3 พาข้ามถึงซึ่งฝั่งแห่งพระนิพพาน ขอบพิตรจงทรงทราบพระ
ปัญญาญาณด้วยประการดังนี้
ส่วนสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิราช ได้สดับก็ทรงประสาทโสมนัสตรัสซ้องสาธุการ
กุสลากุสลการิสส สมาสมปัญหา คำรบ 5 จบเพียงนี้

อมราเทวีปัญหา ที่ 6


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นทวีปบวรขัตติยสุขุมาลมีพระราชโองการประภาษ ตรัสถาม
พระนาคเสนต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้เป็นปฏิสัมภิทา สมเด็จ
พระสุคตินทราธิบดินทร์มุนินทร์ผู้ประเสริฐ มีพระพุทธฎีกาตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้ว่า สพฺพา
อิตฺถิโย
สตรีภาพทั้งหลายในมนุษย์โลกนี้ แม้นได้ขณะก็ดี ได้กำบังก็ดี ได้ฟังลมปากก็ดี ชายใด
เชื้อเชิญเกี้ยวก็ดี สตรีทั้งหลายคงกระทำซึ่งการลามกเมถุนจนได้ ในที่ลับนั้นถึงจะไม่มีชายรูป
งาม มีแต่ชายทรามรูปไม่งาม ต่ำลงมาที่สุดคนง่อยเปลี้ยก็ดี ถ้าที่ลับแล้ว สตรีนั้นก็ย่อมหลง
ในลามกหมดทุกคน สมเด็จพระทศพลเจ้าตรัสฉะนี้แล้ว กลับมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกฺขเว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นางอมราเทวีเป็นภรรยาของพระมโหสถบัณฑิตนั้น ปวุฏฺฐปติกา อยู่ปราศ-
จากผัว รโห นิสินฺนา เข้าไปนั่งอยู่ในห้องที่ลับแห่งนายประตู มีชายไปพูดด้วยสองต่อสองใน
ห้องรโหฐาน นางจะได้ประพฤติมิจฉาจารการลามกหามิได้ จึงวิสัชนาแก้ไขในกระแสพระพุทธ-
ฎีกาให้วิตถารว่า เมื่อพระบรมโพธิสัตว์พานางอมราเทวีไป จะลองใจนาง ว่าดีหรือว่าลามกอยู่
ในห้องกำบังนั้น ให้เกี้ยวพาพูดวาจา นาอมราเทวีนั้นก็มิได้ปลงใจด้วยบุรุษทั้งหลายที่ใช่ให้ไปลอง
เรื่องราวนี้วิตถารอยู่ในมโหสถชาดกแล้ว นี่แหละพระผู้เป็นเจ้าโยมพิเคราะห์ดูกระแสพระพุทธฎีกา
นี้ เป็นสองไม่ต้องกัน ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ จงโปรดวิสัชนาให้แจ้งก่อน

พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช บพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระศาสดา-
จารย์ มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า สตรีจะประพฤติลามกด้วยเหตุ 3 นั้นก็จริงอยู่ เหตุ 3 ประการนั้น
คือ ขณะ 1 คือ ได้ที่กำบัง 1 คือ ชายประโลมเกี้ยว 1 เข้ากันเป็น 3 ประการ
จะแก้ด้วยขณะ ขณะนั้นคือ สตรีได้ขณะอันผู้อื่นไม่เห็นในที่รโหฐาน และไม่กลัวเขาติเตียน
และไม่คิดเห็นภัยว่านอกใจสามีจะไปตกนรก ไม่คิดกลัวภัยดังนี้ก็ชื่อว่าได้ขณะ อนึ่งสตรีมิได้
เคารพรักสามี มิได้กลัวสามี สำคัญว่าสามีรู้ไม่ทัน อนึ่งสตรีนั้นใจบาปไม่เห็นซึ่งอริยธรรม ไม่มี
กิจปฏิบัติสามี จิตสตรีภาพเป็นเช่นนี้ ได้ชื่อว่าสตรีขณะ ครั้นถึงที่รโหฐานสองต่อสองกับชาย ชาย
เกี้ยวพาแล้วไม่แคล้วที่จะเป็น ถ้าไม่มีขณะแล้วมีจิตเป็นอันดีแล้วถึงจะเข้าที่รโหฐาน ชายจะ
เกี้ยวพาพูดจาในที่สองต่อสองก็มิได้กระทำทุราจาร
ประการหนึ่ง อันสตรีทั้งสอง ถึงจะได้ที่ลับจากมนุษย์แต่ยังไม่ลับจากอมนุษย์ เทวดา
ภูตผีปีศาจทั้งหลายอาจเห็นได้ก็ไม่ทุราจาร ประการหนึ่งแม้จะเป็นที่รโหฐาน ลับจากอมนุษย์
ทั้งหลายก็ดี แต่ยังมีบัณฑิตที่รู้ปรจิตวิชาพิจารณาเห็นได้ ก็ไม่อาจกระทำเหมือนกัน ประการหนึ่ง
ถึงที่นั้นจะปราศจากบัณฑิตที่รู้ปรจิตวิชาก็ดี แต่ไม่เป็นที่ลับพอกกระทำความชั่วได้ ก็ไม่อาจกระทำ
ประการหนึ่ง ถ้าได้ที่ลับควรจะกระทำความชั่วได้ แต่ไม่ใช่ที่ลับอันจะพึงทำอสัทธรรม ก็ไม่อาจ
กระทำ นางอมราเทวีนั้นไม่ได้ที่ลับด้วยเหตุเป็นอันมากดังกล่าวมานี้ แม้จะมีบุรุษเกี้ยวพาก็
มิอาจกระทำทุราจาร
อนึ่งเล่า พระมโหสถโพธิสัตว์สามีนั้น ประกอบด้วยธรรมวิเศษอันมีคุณ 29 ประการ
สุโร คือ กล้าหาญประการ 1 หิริวา คือ มีละอายประการ 1 โอตฺตปฺปวา คือ สัดุ้งกลัว
บาปประการ 1 สปกฺโข คือ เป็นผู้มีฝักฝ่ายพวกพ้องประการ 1 มิตฺตสมฺปนฺโน ประกอบไป
ด้วยมิตรมีเพื่อนที่รักชอบอัธยาศัยกันมากประการ 1 ขโม ประกอบด้วยขันติคุณเป็นผู้อดทน
ประการ 1 สีลวา ตั้งอยู่ในศีลห้าประการ กำลังศีลคุณคุ้มไว้กันไว้ประการ 1 สจฺจาวาที กล่าว
ถ้อยคำจริงควรเชื่อ 1 โสเจยฺยสมฺปนฺโน จิตเป็นกุศลประกอบด้วยธรรมอันสะอาด กำลังจิต
กุศลคุ้มขังไว้ประการ 1 อโกธโน มิได้พิโรธโกรธแค้นเคียดบุคคลใดประการ 1 อนติมานี
มิได้รู้ดูหมิ่นล่วงเกินผู้อื่นประการ 1 อนุสฺสุยฺยโก ไม่ริษยาบุคคลผู้ใดใครผู้หนึ่ง ที่ว่าจะมี
วิหิงสาอาฆาตจองเวรใครหามิได้ประการ 1 วิริยวา ประกอบด้วยความเพียรประการ 1 อายุหโก
สร้างสมพระบารมีประมวลแต่สิ่งอันเป็นการกุศลประการ 1 สงฺคหโก เป็นผู้สงเคราะห์มหาชน
ประการ 1 สํวิภารคี จำหน่ายจ่ายทานประการ 1 สขิโล เป็นผู้เจรจาถ้อยคำกลมเกลี้ยงประการ
2 นิวาตวุตฺติ ประพฤติน้อมถ่อมกายอ่อนโยนไม่อหังการมมังการประการ 1 สณฺโห
กล่าวถ้อยคำอันละเอียดอ่อนหวาน ประการ 1 อสโฐ เป็นผู้ไม่โอ้อวดเย่อหยิ่งประการ 1 อมา-

ยาวี มิได้มีเล่ห์กลมายยาคิดที่ว่าจะให้เข้าตกยากได้ไร้ประการ 1 อภิวุฑฺฒินยสมฺปนฺโน ประ
กอบด้วยความรู้เกินอันเป็นนัยแห่งความเจริญประการ 1 วิชฺชาสมฺปานฺโน ประกอบด้วยวิชาการ
สารพักรู้คิดหาทรัพย์และรู้ปลดเปลื้องอันตรายทั้งปวงประการ 1 กิตฺติมา มีกิตด้วยศักดิ์ศรีลือชา
ปรากฏประการ 1 หิโต เป็นผู้เอื้อเฟื้อเกื้อกูลชนทั้งปวง ผู้เข้าไปอาศัยประการ 1 อุปตฺถิโต
เป็นผู้อันชนทั้งหลายปรารถนาประการ 1 ธนวา มีทรัพย์มากประการ 1 ยสวา มียศศักดิ์
มากประการ 1 นี่แหละพระมโสถบัณฑิตวิจิตรไปด้วยคุณ 28 ประการ ปานดังวิสัชนามานี้
ถึงจะมีผู้เกี้ยวพา นางอมราเทวีก็มิอาจกระทำทุราจารลามกเมถุนธรรมทางราคจริตได้
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ผู้เป็นปิ่นประชากร ก็สิ้นพระราชวิมัติกังขา สรรเสริญสาธุการ
แก่พระนาคเสนผู้เฉลิมปราชญ์ในกาลนั้น
อมราเทวีปัญหา คำรบ 6 จบเพียงนี้

ขีณาสวานัง อภายนปัญหา ที่ 7


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีอุดมกษัตริย์ มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระเสนผู้เป็นเจ้าผู้ประกอบด้วยปรีชาญาณอันประเสริฐ สมเด็จพระบรม-
โลกนาถศาสดาจารย์เจ้า มีพระพุทธฎีกาตรัสประทานธรรมเทศนาไว้ว่า พระอรหันต์ทั้ง
หลายจะได้สะดุ้งตัวกลัวภัยต่าง ๆ หามิได้ ตกว่าพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้ ก็ครั้งเมื่อสมเด็จพระ
ศรีสรรเพชญ์เสด็จเข้าไปทรงบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์มหานครนั้น พระอรหันต์เจ้าตามสมเด็จ
พระพุทธดำเนินเข้าไปมิใช่น้อยประมาณถึง 500 องค์ กับพระอานนทเถระผู้เป็นพุทธอุปฐาก
พระเทวทัตปล่อยช้างธนบาลหวังจะให้แทงพระองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า ขณะนั้นพระอรหันต์
เจ้าทั้งหลาย 500 ก็ถอยหนีซุกซ่อนไป เหลือแต่พระอานนทเถระผู้เป็นพุทธอุปฐากผู้เดียวไม่มี
ความเกรงขาม บทจรตามเสด็จอยู่ พระอานนท์ผู้เดียวยังไม่ได้มรรคและผล เป็นปุถุชน ประ
กอบด้วยกิเลสหมกไหม้อยู่ในสันดานไฉนน้ำใจจึงไม่กลัวช้างธนบาลเมามัน พระอรหันต์สิ้นอาสวะ
กลับกลัวช้างธนบาลพากันทิ้งสมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ไว้ แล้วหนีไปไม่เหลือหลอ นี่แหละ
ความข้อนี้โยมสงสัยนัก พระอรหันต์เหล่านั้นจะทิ้งพระบรมครูเสียด้วยความกลัว หรือจะทิ่ง
เสียด้วยมนสิการกำหนดในใจจะให้พระบรมครูปรากฏด้วยกรรมของพระองค์อันได้ทรงทำไว้